ผ่านไปแล้ว 1 วัน สำหรับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างเป็นทางการ โดยแรงงานทั่วประเทศ ได้รับค่าแรง 300 บาทต่อวันในทุกพื้นที่
มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม ที่ผ่านมา แม้ก่อนหน้านี้จะมีการส่งสัญญาณถึงผลกระทบที่จะตามมาจากการถูกเลิกจ้าง แต่ก็ถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการตามความเห็นชอบของมติคณะรัฐมนตรี
อัตราค่าจ้างที่ปรับใหม่ตามประกาศของคระกรรมการค่าจ้างกลาง ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ทั้ง 77 จังหวัดมีอัตราปรับใหม่เท่ากันที่ 300 บาท ต่อวัน
โดยก่อนหน้านี้มี 7 จังหวัดที่ปรับค่าจ้างขั้นต่ำไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 ส่วน 70 จังหวัดที่เหลือมีการปรับขึ้นในอัตราก้าวกระโดดอยู่หลายจังหวัด
โดยก่อนหน้านี้มี 7 จังหวัดที่ปรับค่าจ้างขั้นต่ำไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 ส่วน 70 จังหวัดที่เหลือมีการปรับขึ้นในอัตราก้าวกระโดดอยู่หลายจังหวัด
หากดูเฉพาะจังหวัดที่ปรับขึ้นจากอัตราเดิมที่มีรายได้อยู่ที่ 222-230 บาทต่อวัน ขึ้นไปเป็น 300 บาทต่อวัน จะมีอยู่ 6 อันดับ ใน 13 จังหวัด คือ ค่าแรงต่ำสุด 222 บาทต่อวัน อยู่ที่จังหวัดพะเยา ได้รับการปรับขึ้นไปเป็น 300 บาท หมายถึงปรับขึ้นสูงสุด 78 บาท รองลงมา จังหวัดศรีสะเกษ ปรับขึ้น 77 บาท จากค่าแรงขึ้นต่ำเดิม 223 บาทต่อวัน
อันดับที่ 3 จังหวัดน่าน ปรับขึ้น 75 บาท จาก 225 บาทต่อวัน อันดับที่ 4 จังหวัดตาก และสุรินทร์ ปรับขึ้น 74 บาท จาก 226 บาทต่อวัน อันดับที่ 5 มี 7 จังหวัดที่เดิมได้ค่าแรง 227 บาท ปรับขึ้น 73 บาท คือ จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน อำนาจเจริญ และอุตรดิตถ์ ขณะที่อันดับที่ 6 คือจังหวัดนครพนม ปรับขึ้น 71 บาท จาก 229 บาทต่อวัน
จากตัวเลขการปรับตัวแบบก้าวกระโดดนี้ ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีบางส่วนเริ่มส่งสัญญาณในการปิดกิจการ ขณะที่บางรายต้องปรับตัวด้วยการขึ้นราคาสินค้า ลดต้นทุนในส่วนต่างๆ รวมถึงการเลิกจ้างในที่สุด อย่างผู้ประกอบการในจังหวัดศรีสะเกษ ที่ไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นได้ จึงต้องประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานกว่า 200 ชีวิต
เจ้าหน้าที่แรงงานจังหวัดศรีสะเกษ เข้าชี้แจ้งถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับตามกฎหมาย ให้แก่พนักงานบริษัท นีโอดอร์ จำกัด อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ หลังแรงงานกว่า 200 คน ถูกบริษัทบอกเลิกจ้าง โดยผู้ประกอบการอ้างว่า ไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นจากนโยบายปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท ของรัฐบาลได้
ขณะที่โรงงานฟาร์อีสปั่นทออุตสาหกรรม สาขาพุทไธสง อำเภอพุทธไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ยอมยกเลิกประกาศโยกย้ายพนักงาน 99 คน ไปทำงานที่สาขาในเขตอำเภอเมือง หลังพนักงานออกมาเคลื่อนไหวชุมนุมเมื่อวันที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมา
ซึ่งนายพันธ์ศักดิ์ ศรีนุชศาสตร์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดบุรีรัมย์ ยอมรับว่า การประกาศ ปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท ส่งผลกระทบต่อสถานประกอบการหลายแห่งในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยเฉพาะสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ที่มีอยู่กว่า 60 แห่ง ขณะนี้บางแห่งได้ปิดกิจการบางสาขา เพื่อลดทุนการผลิตไปแล้ว
ซึ่งนายพันธ์ศักดิ์ ศรีนุชศาสตร์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดบุรีรัมย์ ยอมรับว่า การประกาศ ปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท ส่งผลกระทบต่อสถานประกอบการหลายแห่งในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยเฉพาะสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ที่มีอยู่กว่า 60 แห่ง ขณะนี้บางแห่งได้ปิดกิจการบางสาขา เพื่อลดทุนการผลิตไปแล้ว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น