กรุงเทพ ติดอันดับ 6 เมืองน่าลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ในเอเซียแปซิปิก 2556 ซึ่งเป็นอันดับที่ดีขึ้นถึง 5 ลำดับ ขณะที่จาการ์ตา เป็นเมืองน่าลงทุนที่สุดในเอเซียแปซิฟิก
ไพรซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส หนึ่งในเครือข่ายของบริษัท ที่ให้บริการด้านการตรวจสอบบัญชี ให้คำปรึกษาด้านภาษี และที่ปรึกษาทางธุรกิจรายใหญ่ของโลก ซึ่งมีเครือข่ายใน 158 ประเทศทั่วโลก และมีพนักงานมากกว่า 180,000 คน
เปิดเผยรายงาน ความน่าลงทุน ด้านอสังหาริมทรัพย์ ในเอเซียแปซิฟิก ครั้งที่ 7 ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูล จากการสัมภาษณ์และทำแบบสอบถามของผู้ประกอบการ ด้านอสังหาริมทรัพย์ นักลงทุน ผู้จัดการกองทุน ผู้ให้เช่า ตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ให้คำแนะนำ และผู้ให้คำปรึกษาชั้นนำกว่า 400 ราย
ที่สอบถามถึงแนวโน้มและการคาดการณ์ การลงทุนด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และทิศทางการพัฒนาตลาดดังกล่าว ในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก
ผลการสำรวจพบว่า กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย คว้าแชมป์เมืองน่าลงทุนมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิกประจำปีหน้า โดยขยับขึ้นจากอันดับที่ 11 ในปีนี้ แซงหน้านครเซี่ยงไฮ้ของจีนและสิงคโปร์ เนื่องจาก จาการ์ต้า มีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ GDP ที่เติบโตแข็งแกร่ง อัตราดอกเบี้ย และเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ควบคุมได้
ขณะที่กรุงเทพมหานคร ก็ติดโผอันดับที่ 6 เมืองหลวงน่าลงทุนที่สุด ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกเช่นกัน โดยขึ้นจากอันดับที่ 14 ในปีนี้ นายศิระ อินทรกำธรชัย ประธานกรรมการบริหาร ไพรซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย ระบุว่าแนวโน้มของไทยที่ดีขึ้น เป็นอิทธิพลมาจากความน่าลงทุน ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้รับปัจจัยสนับสนุน จากตลาดกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่กลับมาคึกคักอีกครั้ง
และอิทธิพลจากการเติบโตของธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรม รวมไปถึงธุรกิจด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เพราะไทยมีมาตรฐานการให้บริการที่ดี แต่มีค่าใช้จ่ายต่ำ
สอดคล้องกับข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ระบุว่า จนถึงวันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมา ไทยมีกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ 40 กองทุน มีมูลค่าตามราคาตลาด ประมาณ 1 แสน 8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 86 จากสิ้นปีก่อนที่มีมูลค่าประมาณ 9 หมื่น 7 พันล้านบาท
โดยกองทุน ที่มีราคาหน่วยลงทุนสูงสุด คือ ประเภทที่มีโรงแรมเป็นสินทรัพย์อ้างอิง รองลงมาคือประเภทที่มีสำนักงาน เป็นสินทรัพย์อ้างอิง และอันดับสาม คือประเภทที่มีศูนย์การค้า เป็นสินทรัพย์อ้างอิง
รายงานฉบับนี้ ยังระบุอีกว่า ในอนาคต กองทุนประเภทที่มีอาคารสำนักงานอ้างอิง จะได้รับความสนใจเพิ่มเติม โดยเฉพาะในเขตเมือง ซึ่งขณะนี้เห็นว่า ยังเติบโตไม่ทันความต้องการของตลาด และต้องใช้เวลานับปีในการก่อสร้าง จึงจะครอบคลุมความต้องการ
นอกจากจาการ์ตา และกรุงเทพฯ จะติดอันดับท็อปเท็นเมืองหลวงน่าลงทุนในปีหน้าแล้ว ยังมีประเทศสมาชิกในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อีก 2 เมือง ได้แก่ สิงคโปร์ และกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย ที่ติดอันดับต้นๆ เช่นกัน และมีอันดับที่สูงขึ้น เปรียบเทียบกับข้อมูลปัจจุบัน
ไพรซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส หนึ่งในเครือข่ายของบริษัท ที่ให้บริการด้านการตรวจสอบบัญชี ให้คำปรึกษาด้านภาษี และที่ปรึกษาทางธุรกิจรายใหญ่ของโลก ซึ่งมีเครือข่ายใน 158 ประเทศทั่วโลก และมีพนักงานมากกว่า 180,000 คน
เปิดเผยรายงาน ความน่าลงทุน ด้านอสังหาริมทรัพย์ ในเอเซียแปซิฟิก ครั้งที่ 7 ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูล จากการสัมภาษณ์และทำแบบสอบถามของผู้ประกอบการ ด้านอสังหาริมทรัพย์ นักลงทุน ผู้จัดการกองทุน ผู้ให้เช่า ตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ให้คำแนะนำ และผู้ให้คำปรึกษาชั้นนำกว่า 400 ราย
ที่สอบถามถึงแนวโน้มและการคาดการณ์ การลงทุนด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และทิศทางการพัฒนาตลาดดังกล่าว ในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก
ผลการสำรวจพบว่า กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย คว้าแชมป์เมืองน่าลงทุนมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิกประจำปีหน้า โดยขยับขึ้นจากอันดับที่ 11 ในปีนี้ แซงหน้านครเซี่ยงไฮ้ของจีนและสิงคโปร์ เนื่องจาก จาการ์ต้า มีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ GDP ที่เติบโตแข็งแกร่ง อัตราดอกเบี้ย และเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ควบคุมได้
ขณะที่กรุงเทพมหานคร ก็ติดโผอันดับที่ 6 เมืองหลวงน่าลงทุนที่สุด ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกเช่นกัน โดยขึ้นจากอันดับที่ 14 ในปีนี้ นายศิระ อินทรกำธรชัย ประธานกรรมการบริหาร ไพรซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย ระบุว่าแนวโน้มของไทยที่ดีขึ้น เป็นอิทธิพลมาจากความน่าลงทุน ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้รับปัจจัยสนับสนุน จากตลาดกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่กลับมาคึกคักอีกครั้ง
และอิทธิพลจากการเติบโตของธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรม รวมไปถึงธุรกิจด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เพราะไทยมีมาตรฐานการให้บริการที่ดี แต่มีค่าใช้จ่ายต่ำ
สอดคล้องกับข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ระบุว่า จนถึงวันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมา ไทยมีกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ 40 กองทุน มีมูลค่าตามราคาตลาด ประมาณ 1 แสน 8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 86 จากสิ้นปีก่อนที่มีมูลค่าประมาณ 9 หมื่น 7 พันล้านบาท
โดยกองทุน ที่มีราคาหน่วยลงทุนสูงสุด คือ ประเภทที่มีโรงแรมเป็นสินทรัพย์อ้างอิง รองลงมาคือประเภทที่มีสำนักงาน เป็นสินทรัพย์อ้างอิง และอันดับสาม คือประเภทที่มีศูนย์การค้า เป็นสินทรัพย์อ้างอิง
รายงานฉบับนี้ ยังระบุอีกว่า ในอนาคต กองทุนประเภทที่มีอาคารสำนักงานอ้างอิง จะได้รับความสนใจเพิ่มเติม โดยเฉพาะในเขตเมือง ซึ่งขณะนี้เห็นว่า ยังเติบโตไม่ทันความต้องการของตลาด และต้องใช้เวลานับปีในการก่อสร้าง จึงจะครอบคลุมความต้องการ
นอกจากจาการ์ตา และกรุงเทพฯ จะติดอันดับท็อปเท็นเมืองหลวงน่าลงทุนในปีหน้าแล้ว ยังมีประเทศสมาชิกในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อีก 2 เมือง ได้แก่ สิงคโปร์ และกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย ที่ติดอันดับต้นๆ เช่นกัน และมีอันดับที่สูงขึ้น เปรียบเทียบกับข้อมูลปัจจุบัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น